Page 633 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 633
Q19
อภิปรายผล
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการตรวจ Urethral gram stain
โดยการวิเคราะห์ค่าตัดแบ่งที่เหมาะสมของปริมาณ PMNs เฉลี่ยต่อวงกล้องจากตัวอย่างในท่อปัสสาวะ
เพื่อทำนายการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Chlamydia trachomatis ในปัสสาวะ ของผู้รับบริการที่มี
ประวัติพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณ PMNs เฉลี่ยต่อวงกล้องจากตัวอย่างในท่อปัสสาวะ
> 8.6 cells/oil field ขึ้นไป จะมีโอกาสการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Chlamydia trachomatis
ได้ในปัสสาวะ มีค่าความไวร้อยละ 90.9 และมีค่าความจำเพาะร้อยละ 93.3 ขณะที่ค่าตัดแบ่งของปริมาณ
PMNs เฉลี่ยต่อวงกล้อง > 5 cells/oil field ที่ใช้เป็นเกณฑ์วินิจฉัยเพื่อการรักษาโรคหนองในเทียม สามารถ
ทำนายการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Chlamydia trachomatis ในปัสสาวะได้เช่นเดียวกัน มีค่าความไว
ร้อยละ 90.9 แต่มีค่าความจำเพาะน้อยกว่า ร้อยละ 82.2 พื้นที่ใต้กราฟของการทดสอบ (AUC) เท่ากับ 0.98
แสดงให้เห็นว่าปริมาณ PMNs เฉลี่ยต่อวงกล้องจากตัวอย่างในท่อปัสสาวะ มีประสิทธิ์ภาพในการทำนาย
การตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Chlamydia trachomatis ในปัสสาวะได้อย่างเหมาะสม
สรุปและข้อเสนอแนะ
ผู้รับบริการที่เรนโบว์คลินิกและห้องปฏิบัติการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และโรคเรื้อน
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีประวัติพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและผลการตรวจ
Urethral gram stain ไม่พบ Gram negative diplococci สามารถนับปริมาณ PMNs เฉลี่ยต่อวงกล้อง
จากตัวอย่างในท่อปัสสาวะ เพื่อทำนายการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Chlamydia trachomatis
ในปัสสาวะได้ เป็นวิธีที่มีค่าความไวสูง และค่าความจำเพาะสูง สามารถดำเนินการในงานบริการประจำวัน
ของห้องปฏิบัติการได้ ช่วยประหยัดงบประมาณการจัดซื้อน้ำยาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและช่วยลด
ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ การศึกษาในครั้งนี้อาจเป็นแนวทางเพื่อวิเคราะห์ค่าตัดแบ่งที่เหมาะสมของปริมาณ
PMNs เฉลี่ยต่อวงกล้องจากตัวอย่างในท่อปัสสาวะ เพื่อใช้จำแนกสาเหตุอื่นๆของโรคหนองในเทียมได้ในโอกาสต่อไป