Page 636 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 636

Q22

                     การเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ  ความมั่นใจ และผลลัพธ์ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ

                           ลดภาระงานในการบริหารจัดการความเสี่ยงทางคลินิกและกิจกรรมทบทวน
                            การดูแลผู้ป่วยหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี



                                                                                นายแพทย์ปัณณวัฒน์ มงคลรัตนกูล
                                                                  โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี  เขตสุขภาพที่ 6

                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         การดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และปลอดภัยเป็นหน้าที่หลักของโรงพยาบาล ในขณะที่

                  แนวโน้มของผู้รับบริการสูงขึ้น ภาระงานเพิ่มขึ้น จำนวนบุคลากรเท่าเดิม ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วย
                  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วยเช่น กิจกรรมทบทวนความเสี่ยงและกระบวน

                  การดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยจึงควรทบทวนมากขึ้น แต่ด้วยภาระงานที่มากทำให้เจ้าหน้าที่เกิดภาวะหมดไฟ

                  (burnout) จากประเด็นดังกล่าว ในปี 2566 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพทางคลินิก สาขาอายุรกรรม จึงได้
                  พัฒนารูปแบบการลดภาระงานในการบริหารจัดการความเสี่ยงและกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วย

                  อายุกรรมขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน รวมถึงลดภาระงานของบุคลากร
                  พัฒนาความรู้ ความเข้าใจถึงแนวทางในการดูแลรักษาพยาบาลตามส่วนขาด และตรงกับความต้องการของ

                  บุคลากรทางการพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ ปลอดภัย บุคลากรมีความสุข

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ ความมั่นใจ และผลลัพธ์ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบลดภาระงาน

                  ในการบริหารจัดการความเสี่ยงและกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วย หอผู้ป่วยอายุกรรม โรงพยาบาลพนัสนิคม
                  จังหวัดชลบุรี

                  วิธีการศึกษา

                         การวิจัยกึ่งทดลองโดยใช้กลุ่มเดียวเป็นระยะเวลา 1  ปี ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่

                  30 กันยายน 2566 ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วยหัวหน้าและพยาบาล หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง อายุรกรรมชาย
                  หอผู้ป่วยหนัก โดยคำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane, 1973) โดยผู้วิจัยได้ใช้ขนาดตัวอย่าง

                  ทั้งสิ้น 36 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบลดภาระงาน

                  ในการบริหารจัดการความเสี่ยงทางคลินิกและกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วย 2) แบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ
                  ความมั่นใจและผลลัพธ์ ของการใช้รูปแบบลดภาระงานในการบริหารจัดการความเสี่ยงทางคลินิกและกิจกรรม

                  ทบทวนการดูแลผู้ป่วย หอผู้ป่วยอายุกรรม โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard

                  deviation, SD) ค่าเฉลี่ย สถิติ Paired t- test วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม SPSS
   631   632   633   634   635   636   637   638   639   640   641