Page 634 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 634
Q20
ผลการรักษา ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซีเรื้อรัง
ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ปี2565-2566
Outcome of treatment of patients with chronic hepatitis C infection
In phaholpolpayuhasena hospital ,2022-2023
นาย สุริยะ ศิริเลิศพรไชย
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ไวรัสตับอักเสบชนิดซี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของตับ นำไปสู่ภาวะตับแข็ง จนเป็น
สาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งตับในที่สุด โดยทั่วโลกพบผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบชนิดซีเรื้อรังประมาณ 170 ล้านคน ส่วน
ในประเทศไทย คาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซีประมาณร้อยละ1-2หรือ3-8แสนคน ประกอบด้วยสาย
พันธ์ 1a ร้อยละ 6.7 1b ร้อยละ 26.7 2a ร้อยละ2.2 2c ร้อยละ2.2 3a ร้อยละ 51.1 3b ร้อยละ 2.2 และ
สายพันธุ์ที่ 6 ร้อยละ 8.9 ปัจจุบัน ไวรัสตับอักเสบชนิดซี ไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้
sustained virological response (SVR)โดยในประเทศไทยใช้ยาสูตร sofosbuvir/velpatasvir เป็นยาชนิดรับประทาน
12สัปดาห์ ในทุกสายพันธ์ เป็นมาตรฐาน และมีการศึกษาพบว่า SVR มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการลดอัตราการ
เกิดตับแข็งและลดอัตราการเกิดมะเร็งตับ(HCC)และการรอดชีวิตมากขึ้นในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบชนิดซีเรื้อรังใน
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ยังไม่เคยมีการศึกษาผลความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยไวรัส
ตับอักเสบชนิดซีเรื้อรังด้วยยา sofosbuvir/velpatasvir มาก่อน จึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบชนิดซีหายขาด SVR ด้วยยา sofosbuvir/velpatasvir
ที่มารักษาในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี ตั้งแต่1 มีนาคม 2565- 31 มีนาคม 2566
2. ศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบชนิดซีเรื้อรัง
วิธีการศึกษา
1. เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study)โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากแบบฟอร์มกำกับการ
ใช้ยารักษาผู้ป่วยที่มารักษาไวรัสตับอักเสบชิดซีเรื้อรัง ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี ตั้งแต่
วันที่ 1 มีนาคม 2565-31ธันวาคม 2566 โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ร้อยละ (percentage) mean และ
chi-square
2. กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบชนิดซีเรื้อรัง ที่เข้าการรับการตรวจรักษาที่คลินิกทางเดินอาหาร
และตับ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาและไม่มีข้อห้ามในการรักษา จากแบบฟอร์ม
กำกับการใช้ยารักษารักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง