Page 635 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 635

Q21

                  ผลการศึกษา

                         4.1 ข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย
                              4.1.1 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 53.3 ปี

                              4.1.2 เพศชาย 59 (ร้อยละ 78.7) เพศหญิง 16 (ร้อยละ 21.3)

                              4.1.3 ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (HBsAg positive) ร่วมด้วย 40 คน คิดเป็นร้อยละ 53.3
                         4.2 อัตราการหายขาด SVR

                              4.2.1 อัตราการหายขาด SVR จากผู้ป่วยทั้งหมด 75 คน สามารถเกิด SVR ทั้งสิ้น 72 คน

                  คิดเป็น ร้อยละ 96
                              4.2.2 อัตราการหายขาด SVR จากผู้ป่วยตับแข็ง 19 คน สามารถเกิด SVR ทั้งสิ้น 18 คน

                  คิดเป็นร้อยละ 94.7
                              4.2.3 อัตราการหายขาด SVR จากผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะตับแข็ง 56 คน สามารถเกิด SVR 54 คน

                  คิดเป็นร้อยละ 96.4
                              4.2.4 อัตราการหายขาด SVR จากผู้ป่วยที่ติด HIV ร่วมด้วย 31 คน สามารถเกิด SVR 29 คน

                  คิดเป็นร้อยละ 93.5

                              4.2.5 อัตราการหายขาด SVR จากผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย 44 คน สามารถเกิด SVR 43
                  คิดเป็นร้อยละ 97.7


                  อภิปรายผล
                         อัตราการหายขาด SVR ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบชนิดซีเรื้อรังที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

                  จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565-31 ธันวาคม 2566 จำนวนทั้งสิ้น75คน ได้ SVR 72 คน คิดเป็น

                  ร้อยละ 96 โดยเทียบเท่าอัตราการหายขาด SVR จากการศึกษารายงาน หลายงานวิจัยก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็น
                  การยืนยัน ประสิทธิ์ภาพของยา sofosbuvir/velpatasvir ที่เป็นยาหลัก ในการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง

                  ของประเทศไทย ในปัจจุบัน ว่าสามารถรักษาผู้ป่วย ไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ให้หายขาดได้ SVR ในอัตราที่สูง

                  จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งแล้ว มีอัตราการหายขาด SVR ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นตับแข็ง และ
                  ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย อัตราการหายขาด SVR ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีการติดเชื้อ HIV แต่เมื่อนำมาคำนวณ


                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ได้ทำการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ทั้งสิ้น 75

                  คน ตั้งแต่ 1 มีนาคม2565-31 ธันวาคม 2566 ซึ่งผู้ป่วยหายขาด (SVR) ทั้งสิ้น 72 คน คิดเป็นร้อยละ 96
                  ปัจจุบัน ในการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบชนิดซีเรื้อรัง มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้คือ 1.ไม่มีการตรวจ

                  genotype 2. ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบชนิดซีเรื้อรังและเป็นตับแข็งร่วมด้วยจะมีการปรับสูตรยาเป็น

                  sofosbuvir/velpatasvir ร่วมกับ ribavirin 1000-1200 มิลลิกรัม ตามน้ำหนักตัวผู้ป่วย ให้ยา 12 สัปดาห์
                  โดยจะทำให้ ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็ง หายขาด SVR ได้มากขึ้น ซึ่งควรจะทำการศึกษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ในโรงพยาบาล

                  พหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี ในลำดับต่อไป
   630   631   632   633   634   635   636   637   638   639   640