Page 256 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 256

F14


                        ประสิทธิผลการใช้แบบประเมิน CPD Risk Score ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์

                                                ที่โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง


                                                                                            นางนิศาชล สาธุการ
                                                          โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง  จังหวัดเพชรบุรี เขตสุขภาพที่ 5
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ไม่มีสูติแพทย์ เมื่อผู้คลอดมีภาวะ
                  ผิดสัดส่วนของอุ้งเชิงกรานมารดากับศีรษะทารก (CPD) ต้องส่งต่อไปผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้า
                  จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งการส่งต่อมารดา ในระยะคลอดนั้น มารดาและทารกในครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต

                  ส่งผลให้ทารกมีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอดและเสียชีวิตได้ ส่วนมารดาที่เจ็บครรภ์เนิ่นนานกว่าปกติ
                  อัตราการเจ็บป่วยการตายของมารดาสูงขึ้น  มีความยากลำบากในการส่งต่อด้วยระยะทางที่ห่างไกล  ต้องใช้
                  บุคลากรพยาบาล 2 คนในการส่งต่อผู้ป่วย 1 คน มีความเสี่ยงต่อการฟ้องร้องและการเสียชื่อเสียงของ

                  โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง  จากการทบทวนการส่งต่อในระยะรอคลอดด้วยภาวะ CPD ปี 2558-2559
                  เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากเดิม 2 ราย เป็น 6 รายตามลำดับ พศ.2558-2564 ระหว่างที่เริ่มใช้แบบประเมิน
                  CPD Risk  Score ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ CPD ปัจจัยเสี่ยง 5 ประการที่ทำให้คลอดปกติไม่ได้ ได้แก่ อายุ
                  ของมารดามากกว่า 34 ปี มารดาสูงน้อยกว่า 151 เซนติเมตร ตั้งครรภ์ครั้งแรก มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นระหว่าง

                  ตั้งครรภ์มากกว่า 22 กิโลกรัม และระดับยอดมดลูกสูงกว่า 35 เซนติเมตร ซึ่งแสดงว่าศีรษะเด็กใหญ่ ไม่สามารถ
                  คลอดทางช่องคลอดได้  ยังพบปัจจัยข้อที่ 6 เพิ่ม 1ข้อ เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ การลดลงของศีรษะทารกลงในอุ้งเชิงกราน
                  (Head  Engagment) มาเพิ่มในแบบประเมิน CPD Risk  Score ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
                  ที่มีคะแนนเสี่ยงสูง ไปพบสูติแพทย์ที่รพ.พระจอมเกล้าเพื่อวางแผนการคลอด (สุธิต คุณประดิษฐ์,2549)

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1.เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนของเชิงกรานกับศีรษะทารก (CPD) ในหญิงตั้งครรภ์ที่มา
                  ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง
                         2.เพื่อศึกษาความสามารถของแบบประเมิน CPD risk score ในการทำทายการคลอดทางช่องคลอด
                  และการผ่าตัดคลอดได้ถูกต้อง

                         3.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนกันของเชิงกรานมารดากับศีรษะ
                  ของลูก (CPD)

                  วิธีการศึกษา : อธิบายรูปแบบการศึกษา การกำหนดตัวอย่าง และวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง วิธีการวิเคราะห์
                  ข้อมูล/สถิติที่ใช้

                           ประชากร จากฐานข้อมูลรายงานการคลอด รายงานการส่งต่อของหญิงตั้งครรภ์ที่ส่งไปโรงพยาบาล
                  พระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้องและคลอดแล้ว
                  ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2564 – 31 กรกฎาคม พ.ศ.2566 จำนวน 110 คน
                         กลุ่มตัวอย่าง/ผู้ให้ข้อมูล
                         จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้องและคลอด ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม

                  พ.ศ. 2564 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Infinite Pop Proportion
                  โดยกำหนด Proportion ( P ) = 0.06 Error ( d ) = 0.05 Alpha (α ) = 0.05  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261