Page 47 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 47
A23
อันตรกิริยากับแอลกอฮอล์ 1 (6.25)
อันตรกิริยากับสภาวะโรค 5 (31.25)
ไม่ทราบสาเหตุ (ไม่พบปัญหาจากการใช้ยา) 5 (31.25)
จากจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 44 ราย มีการปรึกษาแพทย์บนหอผู้ป่วยเพื่อปรับขนาดยา/เสนอแนะขนาดยา
จำนวน 8 ราย (ร้อยละ 18.18) รายละเอียดดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ปัญหาที่พบจากการใช้ยาวาร์ฟารินขณะนอนโรงพยาบาลและการแก้ไขปัญหาโดยเภสัชกร
(N=44)
เหตุการณ์ จำนวนเหตุการณ์ (ครั้ง)(ร้อยละ)
เสนอแนะเพื่อปรับขนาดยาหลังเริ่มใช้ยาวาร์ฟาริน 4 (9.09)
ปรึกษาแพทย์พิจารณา hold warfarin เมื่อค่า INR 2 (4.54)
prolong ขณะนอนโรงพยาบาล
รายงานขนาดยาที่ผู้ป่วยรับประทานจริงก่อนเข้ารับการ 2 (4.54)
รักษาในโรงพยาบาลกรณีคนไข้กินยาไม่ตรงตามที่แพทย์สั่ง
รวม 8 (18.18)
ด้านผลข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟาริน พบภาวะเลือดออกแบบรุนแรง 1 ราย (ร้อยละ 2.27)
เมื่อคนไข้ออกจากโรงพยาบาล เภสัชกรจะทำ Discharge counselling โดยวิธี telepharmacy
ติดต่อสำเร็จ 38 ราย ติดต่อไม่ได้ 6 ราย ติดตามประเมินความร่วมมือในการใช้ยาเมื่อมา F/U หลัง D/C
มาพบแพทย์ตามนัด รับประทานยาถูกต้อง จำนวน 34 ราย(ร้อยละ 89.47) กลับมารักษาในโรงพยาบาล
ก่อนนัด 2 ราย ไม่มาตามนัด 2 ราย
อภิปรายผล
จากผลดำเนินงานการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในที่ได้รับยาวาร์ฟารินจำนวนทั้งหมด 44 ราย
พบปัญหาการใช้ยาระหว่างนอนโรงพยาบาล 8 ราย (ร้อยละ 18.18 ของผู้ป่วยทั้งหมด) เมื่อเปรียบเทียบกับ
การศึกษาอื่นใน ประเทศไทยพบว่า มีความคล้ายคลึงกับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (ร้อยละ 16.56 )
ซึ่งทำในหอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด แต่มีความแตกต่างกับโรงพยาบาลชัยภูมิ (ร้อยละ 12.5)
ซึ่งเป็นหอผู้ป่วยอายุกรรมทั่วไป (Kulprom W, 2003) และโรงพยาบาลจัตุรัส (ร้อยละ 24.08) ซึ่งเป็นหอผู้ป่วย
อายุรกรรมทั่วไปแต่เป็นโรงพยาบาลชุมชน (Kulprom W, 1999) อาจเนื่องมาจากเป้าหมายการศึกษานี้
คือ ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน จึงมีความคล้ายคลึงกันกับกลุ่มประชากรของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ที่ทำการศึกษาในหอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าการศึกษาอื่น
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุป
การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินทำให้สามารถค้นหาปัญหาจากการใช้ยา
และป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นระหว่างนอนโรงพยาบาลได้ ทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการใช้ยา
ข้อเสนอแนะ
การบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม PharMS การส่งต่อข้อมูลระหว่างผู้ป่วยในกับผู้ป่วยนอกยังมี
ข้อจำกัดคือบันทึกข้อความของโหมดผู้ป่วยในจะไม่แสดงให้เห็นเมื่อเข้าโหมดผู้ป่วยนอก หากต้องการสื่อสาร
จะต้องบันทึกข้อมูลลงในทั้ง 2 โหมดซึ่งยุ่งยากและเสียเวลา อีกข้อจำกัดหนึ่งคือโปรแกรม PharMS ยังไม่เป็น
version เดียวกันทั้งระบบ ทำให้เห็นการแสดงผลแตกต่างกันออกไป ยังต้องการการพัฒนาโปรแกรมต่อไป
ในอนาคต