Page 48 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 48

A24


                                          ผลการพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรม

                                      ร่วมกับตัวส่งสัญญาณในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน

                               ณ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน


                                                           เภสัชกรหญิงนันทวรรณ ว่องไว  เภสัชกรหญิงรุ้งนภา ปาพรม
                                                           เภสัชกรหญิงสุธาสินี ศรีสร้อย และ เภสัชกรหญิงสุนันทา เมรุ
                                              โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ 8

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                           ยาวาร์ฟารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่มีช่วงการรักษาแคบ จัดเป็นยาเสี่ยงสูง ที่อาจก่อให้เกิด

                  อาการข้างเคียงที่รุนแรงหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หากระดับยาในเลือดไม่เหมาะสม โรงพยาบาลสมเด็จ
                  พระยุพราชสว่างแดนดิน เป็นโรงพยาบาลทั่วไป พบผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
                  เพิ่มขึ้นจาก 298 ราย ในปีงบ 2564 เป็น 410 ราย ในปีงบประมาณ 2565 และมากกว่าร้อยละ 75 เข้ารับ
                  การรักษา ณ แผนกอายุรกรรม ในปีงบ 2565 พบความคลาดเคลื่อนจากยาวาร์ฟาริน ระดับ D สาเหตุจาก

                  ทั้งระบบและตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนที่สามารถป้องกันได้ และพบผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน
                  ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีระดับ INR อยู่ในช่วงเป้าหมายเพียงร้อยละ 33 รวมถึงพบรายงานอาการ
                  ไม่พึงประสงค์ถึงร้อยละ 17 ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับ

                  ตัวส่งสัญญาณในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ณ แผนกอายุรกรรม เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ
                  มีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากการใช้ยา

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                           1. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับตัวส่งสัญญาณในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน
                  ขณะเข้ารับการรักษา ณ แผนกอายุรกรรม

                           2. เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับตัวส่งสัญญาณในผู้ป่วยที่ได้รับยา
                  วาร์ฟารินขณะเข้ารับการรักษา ณ แผนกอายุรกรรม

                  วิธีการศึกษา
                           เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ (action research) ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดของเคมมิสแมกเทอร์กาส
                  ผ่านกระบวนการ PAOR ในการพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมเชิงรุก (proactive) ร่วมกับตัวส่งสัญญาณ

                  (trigger tool) ในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ณ แผนกอายุรกรรม (จากเดิมที่ alert ระบบการติดตาม เมื่อแจ้งเตือน
                  จากพยาบาลประจำตึกและพบเภสัชกรเมื่อจำหน่าย) เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการบริบาล
                  เภสัชกรรมร่วมกับตัวส่งสัญญาณ ในช่วงปีงบ 2565 และ 2566 โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเข้า ได้แก่ ผู้ป่วยอายุ
                  มากกว่า 18 ปี ได้รับการรักษาหรือมีประวัติได้รับยาวาร์ฟารินที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ณ แผนกอายุรกรรม

                  มีค่า INR อยู่นอกช่วงการรักษา และเจาะติดตามค่า INR อย่างน้อย 2 ครั้ง ร่วมกับเข้ารับการรักษาตัว
                  ในโรงพยาบาล อย่างน้อย 7 วัน และเกณฑ์การคัดออก ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ณ แผนกอื่น
                  ผู้ป่วยโรคมะเร็ง/palliative care ผู้ป่วยเสียชีวิต/ปฏิเสธการรักษา/ส่งต่อ และผู้ป่วยที่ไม่มีค่า INR วิเคราะห์
                  ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มด้วยสถิติ chi-square ในข้อมูลตัวแปร

                  อันดับหรือกลุ่มสถิติ independent t-tests ในข้อมูลตัวแปรแบบต่อเนื่อง กำหนดค่า p < 0.05 แตกต่างอย่าง
                  มีนัยสำคัญทางสถิติ
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53