Page 63 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 63

A39


                             3. ประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ยก
                                และได้รับการรักษาผ่านสายสวนหัวใจแบบปฐมภูมิใช้โมไบล์แอปพลิเคชัน
                           สัปดาห์ที่ 2-4 ระยะที่ 2

                             1. ปรึกษาได้ตลอดเวลา
                             2. ติดตามผลเมื่อครบ 4 สัปดาห์ผ่านโมไบล์แอปพลิเคชัน

                  ผลการศึกษา
                           กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 รายพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 66–75 ปี (X ̅= 63.35, SD 15.41)
                  ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 85 และเพศหญิงจำนวน ร้อยละ 15  ผลการเปรียบเทียบการดูแลตนเอง

                  ของผู้ป่วยก่อนและหลัง การใช้ใช้โมไบล์แอปพลิเคชันหลังจากจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

                  อภิปรายผล
                           กลุ่มตัวอย่าง พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยที่ 63.35 ( SD 15.41 ) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 85
                  และเพศหญิงจำนวน ร้อยละ 15  ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง

                  ซึ่งการติดตามแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่1 ขณะยังอยู่ในโรงพยาบาลมีการวางแผนจำหน่าย โดยใช้หลัก
                  DMETHODSs สอนและให้คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย ประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย
                  กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ยกและได้รับการรักษาผ่านสายสวนหัวใจแบบปฐมภูมิ
                  ใช้โมไบล์แอปพลิเคชันใช้โมไบล์แอปพลิเคชัน และระยะที่ 2 เมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน ผู้ป่วยสามารถปรึกษา
                  ได้ตลอดเวลาและมีการติดตามผลเมื่อครบ 4 สัปดาห์ ผลการเปรียบเทียบการดูแลตนเองของผู้ป่วยก่อนและหลัง

                  การใช้โมไบล์แอปพลิเคชันหลังจากจำหน่าย พบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังจากจำหน่ายมีค่าสูงกว่า
                  ก่อนจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ซึ่งผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ
                  การติดตามการดูแลต่อเนื่องโดยใช้โมไบล์แอปพลิเคชัน ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงและรับบริการได้อย่างต่อเนื่อง

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                           1. การติดตามการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย AMI ชนิด ST ยกและได้รับการรักษา PPCI โดยใช้
                  โมไบล์แอปพลิเคชัน ‘สมาร์ทการดูแล’ ผู้ป่วยAMI ชนิด ST ยกและได้รับการรักษาผ่านสายสวนหัวใจ
                  แบบปฐมภูมิ มีความรู้ พฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเหมาะสมและได้รับการติดตามการดูแลอย่าง
                  ต่อเนื่อง

                           2. นำโปรแกรมการติดตามการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย AMI ชนิด ST ยกและได้รับการรักษา PPCI
                  โดยใช้โมไบล์แอปพลิเคชันไปใช้ในระยะยาว ในช่วง 6 เดือน และ 12 เดือน เพื่อการพัฒนาในการดูแลผู้ป่วย
                  ต่อไป
                           3. ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมวัดผลก่อนและหลังการทดลองของการติดตาม

                  การดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย AMI ชนิด ST ยกและได้รับการรักษา PPCI โดยใช้โมไบล์แอปพลิเคชัน
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68