Page 62 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 62

A38


                                ประสิทธิผลของการติดตามการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย AMI ชนิด ST ยก
                              และได้รับการรักษาผ่านสายสวนหัวใจแบบปฐมภูมิ โดยใช้โมไบล์แอปพลิเคชัน


                                                                                        นางสาวสุมลรัตน์ อาจกูล
                                                                        โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง เขตสุขภาพที่12
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                           ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน(acute myocardial infarction: AMI) ชนิด ST ยก เป็นภาวะ
                  ที่มีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน โดยการรักษาผ่านสายสวนหัวใจแบบปฐมภูมิ (Primary
                  Percutaneous Coronary Intervention: PPCI) พบอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาล

                  ตรัง พ.ศ. 2564- 2566 เป็นจำนวน 198, 244 และ 258 ราย ตามลำดับ ภายหลังการจำหน่ายพบว่ามีปัญหา
                  ในเรื่องการติดตามการดูแลต่อเนื่องเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน ข้อมูลที่ได้กลับมาไม่ครอบคลุมตามหลัก
                  DMETHODSs ทำให้การดูแลติดตามการดูแลไม่ต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการฟื้นหาย ผู้วิจัยได้เล็งเห็น

                  ถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงพัฒนาการติดตามการดูแลต่อเนื่องร่วมกับภาคีเครือข่ายโรงเรียนจุฬาภรณ์
                  ราชวิทยาลัยตรัง สำหรับผู้ป่วย AMI ชนิด ST ยกที่ได้รับการทำ PPCI โดยใช้โมไบล์แอปพลิเคชัน
                  เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อประเมินความรู้และพฤติกรรม
                  ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยได้รับการวางแผนจำหน่ายได้อย่างเหมาะสมตามหลัก DMETHODSs

                  ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ ลดความวิตกกังวลและสามารถให้คำปรึกษาได้ตลอดเวลา
                  เพิ่มความพึงพอใจต่อการบริการ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                           เพื่อศึกษาผลของการดูแลตนเองของผู้ป่วยAMI ชนิด ST ยกและได้รับการรักษา PPCI โดยใช้
                  โมไบล์แอปพลิเคชัน หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

                  วิธีการศึกษา

                           การวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดลองก่อนหลัง เพื่อศึกษาผลของการดูแลตนเองของผู้ป่วย
                  AMI ชนิด ST ยกและได้รับการรักษา PPCI โดยใช้โมไบล์แอปพลิเคชัน หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
                  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วย AMI ชนิด ST ยกและได้รับการรักษาผ่านสายสวนหัวใจแบบปฐมภูมิ จำนวน 20 คน
                  ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตรัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มีเกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ ผู้ป่วย

                  AMI ชนิด ST ยกและได้รับการรักษาผ่านสายสวนหัวใจแบบปฐมภูมิทั้งเพศหญิงและเพศชายอายุ 35 ปีขึ้นไป
                  ฟังพูดอ่านเขียนได้ และยินดีเข้าร่วมโครงการ มีโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
                           กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

                           แนวคิดในการดูแลเปลี่ยนผ่าน (The Care Transition Intervention : CTI) ของ Coleman
                  (2004) เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการดำเนินการ ดังนี้

                           สัปดาห์ที่ 1 ระยะที่ 1
                             1. วางแผนจำหน่ายโดยใช้หลัก DMETHODSs

                             2. สอนและให้คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67