Page 64 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 64

A40


                  การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยที่มีการใช้ยา Warfarin โรงพยาบาลสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา


                                           เภสัชกรหญิงหนึ่งฤทัย ไชยสองสี ปานเลขา เจ้าโว่  ลดาวัลย์ พินธุ์ทอง และคณะ
                                                                โรงพยาบาลสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เขตสุขภาพที่ 12
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                           ยาวาร์ฟารินเป็นยาที่มีดัชนีการรักษาแคบมีการใช้แพร่หลายมาเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นยาต้าน
                  การแข็งตัวของเลือดที่สามารถใช้ลดอุบัติการณ์ในการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ หรือป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

                  ขาดเลือดเฉียบพลันได้คนผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ยาวาร์ฟารินนอกจากจะมีประโยชน์มากมายแล้ว
                  ยังมีช่วงในการรักษาแคบ ทำให้สามารถเกิดอาการข้างเคียงได้ง่าย ซึ่งสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุดในการใช้
                  ยาวาร์ฟาริน คือ ยาสามารถทำให้เกิดภาวะเลือดออกได้ สามารถทำให้เกิดภาวะเลือดออกทั้งระดับน้อย
                  ไปจนถึงระดับมาก ซึ่งผู้ป่วยบางคนที่มีการใช้วาร์ฟาริน เมื่อมีภาวะเลือดออกก็สามารถทำให้เกิดอันตราย

                  ถึงแก่ชีวิตได้ การติดตามการใช้ยาวาร์ฟารินจึงเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามระดับยาด้วยการตรวจวัด
                  ระดับค่า INR เพื่อดูระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเพื่อให้แพทย์และเภสัชกรปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับค่า INR
                  ของผู้ป่วย เพื่อช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการมีภาวะเลือดออกได้ทันท่วงที และเพื่อให้ผู้ป่วย
                  มีความปลอดภัยในการใช้ยา

                           โรงพยาบาลสะบ้าย้อยเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กที่มีการรองรับผู้ป่วยในกลุ่มที่มีการใช้
                  ยาวาร์ฟารินจากโรงพยาบาลศูนย์เป็นหลัก โดยก่อนปี พ.ศ. 2565 โรงพยาบาลยังไม่มีการจัดตั้งคลินิกวาร์ฟาริน
                  มีเพียงการสำรองยาวาร์ฟารินและเจาะค่า INR เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ในการเดินทางไปรับการรักษาต่อที่
                  โรงพยาบาลศูนย์ ต่อมามีการรับส่งต่อกลุ่มผู้ป่วยที่มีการใช้ยาวาร์ฟารินบางส่วนให้มารับยาต่อ ณ โรงพยาบาล

                  สะบ้าย้อย แต่เกิดอุบัติการณ์เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟารินแบบ Major bleeding ทำให้
                  ผู้ป่วยเสียชีวิตขณะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์ จากการทบทวนความเสี่ยงที่เกิดขึ้น พบว่า การดูแลผู้ป่วย
                  ที่มีการใช้ยาวาร์ฟารินมีลักษณะจำเพาะเนื่องจากเป็นยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ ทำให้มีช่วงในการรักษาและ

                  ช่วงที่สามารถเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่มีความใกล้เคียงกัน รวมถึง INR เป้าหมายของผู้ป่วยมีความจำเพาะ
                  ในแต่ละราย จึงจำเป็นต้องมีการดูแลผู้ป่วยที่เป็นระบบและจำเพาะกับกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวมากขึ้น จึงริเริ่ม
                  ในการจัดตั้งคลินิกวาร์ฟารินในโรงพยาบาลสะบ้าย้อยขึ้น อาศัยหลักการทำงานแบบสหวิชาชีพเพื่อสามารถดูแล
                  ผู้ป่วยได้ครบทุกมิติ โดยมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยจากการใช้ยาวาร์ฟาริน เพิ่มคุณภาพชีวิต
                  ของผู้ป่วยและผู้ดูแลและช่วยลดความแออัดของโรงพยาบาลศูนย์ ทางผู้วิจัยและทีม จึงจัดตั้งคลินิกวาร์ฟาริน

                  ขึ้นในปี 2565 เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นและสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีระบบ ครบทุกมิติมากขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีการใช้ยาวาร์ฟารินแบบสหวิชาชีพ โรงพยาบาลสะบ้าย้อย
                  จังหวัดสงขลา


                  วิธีการศึกษา
                           การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อศึกษาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2565-2566 (retrospective study)
                  โดยแบ่งกลุ่มดำเนินการเป็น 3 ช่วง และใช้ผลการดำเนินการเป็นค่า INR in target และค่า TTR (time in

                  therapeutic range)
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69