Page 784 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 784
T10
ผลของการใช้แนวทางการดูแลประคับประคองและการวางแผนดูแลล่วงหน้า
ต่อการตัดสินใจเลือกปฏิเสธหรือได้รับการรักษาเพื่อการยืดการตาย
ในระยะสุดท้ายของชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรง
นางสาวรัตนาภรณ์ กรุณา ,นางสมหญิง พลเวียง
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
จังหวัดเชียงราย เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท วิชาการ
ความเป็นมา
ภาวะหัวใจล้มเหลวที่ดื้อต่อการรักษา หรือภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรง มีอาการของหัวใจล้มเหลว
ตลอดเวลาแม้ในขณะพัก หรืออกแรงเล็กน้อย ส่วนใหญ่พบว่ามีอาการซับซ้อนหลายอาการที่อาจเกิดขึ้นพร้อม
กัน เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน อาการจะกำเริบจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากว่า 1 ครั้ง
ในช่วงเวลา 6 เดือน ต้องนอนพักรักษาตัวนานขึ้น ต้องเผชิญกับภาวะไม่แน่นอนความวิกฤตที่เกิดขึ้น จากพยาธิ
สภาพของโรค ส่งผลให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความเครียด วิตกกังวล กระทบต่อคุณภาพชีวิต แม้เทคโนโลยี
ทางการรักษาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการรักษาที่ดีมีคุณภาพมาตรฐานก็ตาม แต่ตัวโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะ
ท้าย จากการรักษาเพื่อลดอัตราการตาย ยืดชีวิต ลดอัตราการดำเนินของโรค เปลี่ยนเป้าหมายการรักษาเพื่อลด
อาการทุกข์ทรมาน
จากการทบทวนวรรณกรรมผู้ป่วยระยะท้าย ที่ไม่ได้กำหนดแผนการดูแลรักษาหรือได้ทำหนังสือแสดง
เจตนาเอาไว้มักจะได้รับการรักษาที่เกินความจำเป็นและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การให้ยากระตุ้นระบบ
ไหลเวียน การเจาะคอ การฟอกเลือดล้างไต หรือการช่วยฟื้นคืนชีพ ซึงเป็นหัตถการที่เพิ่มความทุกข์ทรมาน
ให้กับผู้ป่วย และไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย
การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลที่มุ่งเน้นในการบรรเทาความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน รวมถึง
การดูแลรักษาอาการต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งจากตัวโรค เพื่อคงไว้เพื่อให้เป้าหมายของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น
การวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Plan) คือ กระบวนการวางแผนสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ โดย
ออกแบบให้มีกระบวนการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ญาติ บุคลากรทางการแพทย์ เกี่ยวกับอาการและ
การวางแผนการดูแลในแต่ระยะ เน้นให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยในทุกมิติเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มี
คุณภาพจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต รวมไปถึงการแสดงเจตนาว่าจะรับหรือไม่รับการดูแลรักษาใดเมื่อถึง
เวลาที่ผู้ป่วยไม่อยู่ในภาวะที่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองได
ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรง ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมาน ภาวะวิกฤตต่างๆ หากผู้ป่วยไม่มีแผน
ดูแลล่วงหน้า อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ไม่จำเป็น และไม่ตรงตามความต้องการของผู้ป่วย ดังนั้นผู้วิจัยจึง
มีความสนใจที่จะศึกษา ผลของการใช้แนวทางการดูแลประคับประคองและการวางแผนดูแลล่วงหน้าต่อการ
ตัดสินใจเลือกปฏิเสธหรือได้รับการรักษาเพื่อการยืดการตายในระยะสุดท้ายของชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว
รุนแรง