Page 49 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 49
A25
ผลการศึกษา
พบผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 87 ราย แบ่งเป็นช่วงก่อน (ปีงบ 2565) และหลัง (ปีงบ 2566)
การพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับตัวส่งสัญญาณ จำนวน 42 ราย และ 45 ราย ตามลำดับลักษณะ
พื้นฐานของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน โดยหลังการพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับตัวส่งสัญญาณ
พบว่าผู้ป่วยมีค่า INR อยู่ในช่วงเป้าหมายเพิ่มขึ้น ขณะรักษาในโรงพยาบาล จากร้อยละ 33.3 เป็นร้อยละ 55.6
(p=0.04) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาวาร์ฟารินลดลง
จากร้อยละ 16.7 เป็นร้อยละ 6.7 (p=0.14) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างทางสถิติ
อภิปรายผล
กลุ่มขนาดตัวอย่างในการศึกษามีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยวาร์ฟารินที่เข้ารับการรักษา
ในโรงพยาบาล ผลจากการจำหน่ายผู้ป่วยก่อนเจาะติดตามค่า INR ครั้งที่ 2 และรอติดตามผล INR
หรือปรับขนาดยาวาร์ฟาริน ณ คลินิกวาร์ฟาริน (OPD case) เป็นผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถูกตัดออกจากการศึกษา
และการพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมเชิงรุก (proactive) ร่วมกับตัวส่งสัญญาณ (trigger tool)
ในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน สามารถดักจับหรือลดความคลาดเคลื่อนหรือเหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์
จากการใช้ยาได้ทันท่วงที
สรุปและข้อเสนอแนะ
การศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้เกิดการบริบาลเภสัชกรรมเชิงรุกผ่านตัวส่งสัญญาณร่วมกับการให้คำปรึกษา
ด้านยาวาร์ฟารินแก่บุคลากรและผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาอย่างมี
ประสิทธิภาพและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามผลยังไม่บรรลุเป้าหมาย
Service Plan จำเป็นต้องติดตาม ขยายผล และนำระบบ IT เข้ามาสนับสนุนเพื่อพัฒนาระบบต่อไปในอนาคต