Page 51 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 51
A27
หัวใจแบบเปิด 3) สื่อนำเสนอภาพนิ่ง (Power Point) แผนการให้ความรู้และมีรูปภาพประกอบ เช่น ภาพการ
ดำเนินของโรค การรักษา ภาวะแทรกซ้อน อาหารสำหรับผู้ป่วย การรับประทานยา เป็นต้น
2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัด
คุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย 3) แบบประเมินความวิตกกังวล ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม
ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า 3) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสําเร็จรูป ภายหลัง
การทดสอบการกระจายตัวของข้อมูลกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีการกระจายตัวแบบไม่เป็นโค้งปกติ โดยมีวิธีการ
ดังนี้ 1) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ การวินิจฉัยโรค การผ่าตัด ด้วยสถิติบรรยาย
ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
คุณภาพชีวิตและความวิตกกังวลระหว่างก่อนและหลังการศึกษาด้วยสถิติ Wilcoxon signed-ranks test
เนื่องจากการกระจายของตัวแปรไม่เป็นโค้งปกติ
ผลการศึกษา
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 62.90 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 60.40 ปี
(S.D.=11.136) ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 54.3 มีสถานภาพสมรสคู่
ร้อยละ 60 การศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุดร้อยละ 74.20 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด ร้อยละ
28.60 และมีสิทธิการรักษาพยาบาลเป็นบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท) คิดเป็นร้อยละ 77.10
ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีระยะเวลาการเป็นโรคหัวใจอยู่ระหว่าง 1-5 ปี
ร้อยละ 100 เวลาเฉลี่ย 3.17 ปี (S.D.= 4.547) กลุ่มตัวอย่างไม่มีประสบการณ์ในการผ่าตัด 22 ราย คิดเป็น
ร้อยละ 63 กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัด 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 37 โดยมีประสบการณ์การผ่าตัด
1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 77 กลุ่มตัวอย่างมีโรคประจำตัวพบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 54
กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เรื่องการผ่าตัดโดยพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 37 การวินิจฉัยโรคพบ
สาเหตุจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจมากที่สุด 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.60 ชนิดของการผ่าตัดส่วนใหญ่
ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกและเปลี่ยนลิ้นหัวใจไมตรัลเท่ากัน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ
37.10
ส่วนที่ 3 เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตและระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดหัวใจ
แบบเปิดก่อนและหลังการได้รับข้อมูลก่อนและหลังผ่าตัด ก่อนการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพ
ชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง พบมีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.10 คุณภาพชีวิต
ในระดับต่ำ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.90 ภายหลังการศึกษาคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง
มีคุณภาพชีวิตในระดับสูง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 และคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง 14 ราย คิดเป็น
ร้อยละ 40 และก่อนการศึกษาพบกลุ่มตัวอย่างที่มีความวิตกกังวล (ผิดปกติ) 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.60
มีความวิตกกังวล (ไม่ผิดปกติ) 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.40 ภายหลังการศึกษาพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างไม่มีความ
วิตกกังวล 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
ส่วนที่ 4 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตและความวิตกกังวลก่อนและหลังการศึกษาด้วยสถิติ
Wilcoxon Signed-ranks Test ภายหลังได้รับข้อมูลก่อนและหลังผ่าตัด มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มสูงขึ้น
(Mean 96.170, S.D. 8.424) กว่าก่อนการศึกษา (Mean 78.970, S.D. 8.279) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
(Z = -4.859, p-value = 0.000) ส่วนความวิตกกังวลพบว่า คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลก่อน (Mean 13.629,
S.D. 2.450) และหลังการทดลอง (Mean 4.685, S.D. 2.752) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ
(Z = -5.172, p-value = 0.000)
อภิปรายผล
ผลการศึกษา แสดงให้เห็นประสิทธิผลของการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลก่อนและหลังผ่าตัด
แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในการเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตและลดระดับความวิตกกังวลของ