Page 50 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 50
A26
ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลก่อนและหลังผ่าตัดต่อคุณภาพชีวิตและความวิตกกังวล
ในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลอุดรธานี
นางนงลักษณ์ โลหะเวช
โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาสุขภาพที่สําคัญและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลําดับต้น
ของประชากรโลก การผ่าตัดหัวใจถือเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ช่วย
เพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและทําให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากสถิติของสมาคม
ศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย พบว่า จํานวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เข้ารับการรักษา ด้วยการ
ผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมีจํานวนเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ที่มีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดทั่วประเทศ
จํานวน 5,133 ราย จาก 24 โรงพยาบาลในสังกัดของรัฐบาล เพิ่มขึ้นเป็น 14,599 ราย จาก 48 โรงพยาบาล
ในปี พ.ศ.2562 โรงพยาบาลอุดรธานี เป็นโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิที่เปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ
และหลอดเลือดโดยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา จากสถิติของโรงพยาบาล ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2562 - พ.ศ.2566 พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด จำนวน 502, 473, 426, 460, 453
ตามลำดับ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดก่อนและหลังได้รับ
โปรแกรมการให้ข้อมูลก่อนและหลังผ่าตัด
2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดก่อนและหลังได้รับ
โปรแกรมการให้ข้อมูลก่อนและหลังผ่าตัด
วิธีการศึกษา
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดี่ยววัดผลก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิต
และระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดก่อนและหลังการได้รับข้อมูลก่อนและหลัง
การผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินคุณภาพชีวิตและความวิตกกังวลและได้รับข้อมูลการผ่าตัด ตั้งแต่ก่อน
ผ่าตัดจนกระทั่งจําหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล และได้รับการประเมินคุณภาพชีวิตและความวิตกกังวลซํ้า
ใน 1 เดือน หลังผ่าตัดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต
และระดับความวิตกกังวลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ WILCOXON SIGNED-RANKS TEST ประชากร
และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
โรงพยาบาลอุดรธานี จํานวนทั้งสิ้น 35 ราย คํานวณกลุ่มตัวอย่างโดยกําหนดให้ Power = 0.80 โดยคัดเลือก
จากผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลอุดรธานี ที่มีคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์
ที่กําหนด (Inclusion Criteria) ดังนี้ 1) มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป 2) เป็นผู้ป่วยที่เข้ามานอนโรงพยาบาล
ก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน เพื่อเตรียมการผ่าตัด 3) เป็นผู้ป่วยที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เข้าใจและ
4) ยินดีเป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยและกําหนดเกณฑ์การคัดออก (Exclusion Criteria) ดังนี้
1) ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดและ 2) ผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวล เนื่องจากผู้ป่วย
ยังไม่มีความพร้อมสําหรับการผ่าตัดและต้องรับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตก่อนการผ่าตัด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) แผนการ
สอนให้ความรู้เรื่องการเตรียมตัวก่อนและหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด มีเนื้อหาครอบคลุมทั้ง 2 ด้าน
ได้แก่ ระยะก่อนผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัด 2) จัดทำแผ่นพับ การให้ข้อมูลของผู้ป่วยโรคหัวใจก่อนและหลังผ่าตัด