Page 52 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 52
A28
ผู้ป่วยหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการศึกษาทั้งนี้เนื่องจากวิธีการให้ข้อมูล
ก่อนและหลังผ่าตัดที่เหมาะสมและเพียงพอ เป็นการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ผู้วิจัยมีแนวทางในการ
ให้ข้อมูลที่ครอบคลุมเรื่องยาที่ต้องรับประทานหรือต้องงดก่อนการผ่าตัด การเลือกใช้แหล่งบริการด้านสุขภาพ
ที่ผู้ป่วยสามารถใช้บริการ กิจกรรมที่สามารถทําได้ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด การดูแลตนเอง แผนการรักษาที่ผู้ป่วย
ต้องได้รับทั้งก่อนและหลังผ่าตัด ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ในการผ่าตัด และเปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างและญาติซักถาม
ที่ตรงตามแนวคิดทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองและทฤษฎีระบบการพยาบาลเพื่อการทดแทนที่ผู้วิจัย
ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัย โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการเจ็บป่วยของ
ตนเอง โดยการให้ข้อมูล ชี้แนะแนวทาง สอนและสนับสนุนโดยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเป็นรายบุคคล
ที่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สนทนา ซักถาม สะท้อนความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการประเมินระดับคุณภาพชีวิต ความวิตกกังวล และสร้างแนวปฏิบัติการให้ข้อมูลก่อน
และหลังการผ่าตัดแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ และผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจทุกคน เพื่อใช้เป็น
แนวทางในการให้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง ตรงความต้องการของผู้ป่วย และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจนกระทั่งจําหน่ายจากโรงพยาบาล
2) ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตและความวิตกกังวลของ
กลุ่มทดลองกับกลุ่มปกติ โดยกําหนดให้มีการประเมินระดับคุณภาพชีวิตและระดับความวิตกกังวลในช่วง
เริ่มแรกของการวางแผนให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด และติดตามประเมินผลลัพธ์ในระยะยาว
เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น
3) การประเมินความวิตกกังวลในการวิจัยครั้งต่อไป อาจพิจารณาใช้เครื่องมือวัดความวิตกกังวลอื่นๆ
ร่วมด้วย เช่น แบบวัดความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์, แบบวัดความวิตกกังวลของเบ็ค หรือแบบวัดความ
วิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ