Page 53 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 53
A29
การลดอัตราตายของผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Complete heart block
ในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ปี 2562-2566
นางสาวปิยวรรณ์ ลัทธิ
โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากการสำรวจขององค์กร ศึกษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของโลก (World Society of Arrhythmia)
ในปี ค.ศ. 2005 และ 2009 พบสถิติ ผู้ป่วย complete heart block ที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
แบบถาวร ทั่วโลก (60 ประเทศ) มีจำนวน 539,934 และ 1,002,664 คน ตามลำดับ และพบในประเทศไทย
มีจำนวน 1,434 และ 1,894 คน โดยล่าสุดปี พ.ศ. 2558 พบจำนวน 2,728 คน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
อย่างชัดเจน และพบการตายเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยก่อนได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร ซึ่งโรงพยาบาล
ละหานทราย เป็นโรงพยาบาลระดับ F1 ไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ไม่มีพยาบาลที่ผ่านการอบรมเวชปฏิบัติ
ฉุกเฉิน ให้การดูแลผู้ป่วยโดยแพทย์ทั่วไป จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังของงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน พบว่า
ในปีงบประมาณ 2562 พบผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Complete heart block ทั้งหมดจำนวน 15 ราย
ส่งต่อจำนวน 12 ราย นอนโรงพยาบาลจำนวน 2 ราย เสียชีวิตในห้องฉุกเฉินจำนวน 1 ราย (ร้อยละ 6.67)
พบปัญหา (1)การประเมินและวินิจฉัยล่าช้า (2)ขาดทักษะการอ่าน EKG ที่ผิดปกติ (3) ขาดแนวทางการดูแล
วัตถุประสงค์การศึกษา
อัตราการตายของผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Complete heart block ในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
เป็น 0%
วิธีการศึกษา
1. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยการทำผังก้างปลา พบด้าน (1) ด้านบุคลากร (2) ด้านผู้ป่วย
(3) ด้านอุปกรณ์ (4) ด้านแนวทางปฏิบัติ
2. มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามวงจร DALI
2.1 การพัฒนาครั้งที่ 1 (ปี 2563) ด้านบุคลากร คือ มีการพัฒนาและส่งเสริมบุคลากร
ในการเรียนเฉพาะทางเวชปฏิบัติฉุกเฉิน
2.2 การพัฒนาครั้งที่ 2 (ปี 2564) ด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องมือ คือ มีการพัฒนาทักษะของ
พยาบาลในการอ่าน EKG โดยพยาบาลที่เชี่ยวชาญกว่า(พี่สอนน้อง) โดยมีสื่อการเรียนรู้ เช่น จากกรณีศึกษา
ที่พบ และข้อสอบ EKG(แบบถาม-ตอบ),มีการพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยชีวิต ในหน่วยงาน
2.3 การพัฒนาครั้งที่ 3 (ปี 2565) ด้านแนวทางการปฏิบัติและผู้ป่วย คือ มีการใช้ CARE MAP
โรคหัวใจ กำหนด warning sign เพื่อคัดกรอง และใช้ “Bradycardia with Pulse Algorithm” ในการดูแล
ผู้ป่วย bradycardia
2.4 การพัฒนาครั้งที่ 4 (ปี 2566) ด้านระบบการส่งต่อผู้ป่วย คือ มีการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วย
ไปยังสถานที่ที่มีศักยภาพสูงกว่า โดยใช้ระบบ Telemedicine เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยขณะส่งต่อ
และมีการตรวจสอบความพร้อมใช้งานทุกเช้าและก่อนออกเดินทาง
ผลการศึกษา