Page 54 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 54
A30
พบว่าในปี 2566 พบผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Complete heart block ในงานอุบัติเหตุ-
ฉุกเฉิน จำนวน 5 ราย และอัตราการตายของผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Complete heart block
ในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน เป็น 0%
อภิปรายผล
พบว่าการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Complete heart block ที่เข้ารับ
บริการในแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลละหานทรายด้วย1) ใช้ care map คัดกรองโรคหัวใจ
2) warning sign 3) ตรวจ EKG และแปลผลใน 10 นาที มีผลทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพ
ตามมาตรฐาน ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเร็วขึ้น ในกลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยอาการจุกแน่นใต้ลิ้นปี่
เวียนศีรษะ เหนื่อยเพลียหรือกลุ่มที่มาด้วยอาการของภาวะหัวใจวาย และมีการรายงานแพทย์เวรตาม CPG
นอกจากนี้ยังมีการจัดทำแนวทางในการดูแลผู้ป่วย bradycardia โดยใช้ “Bradycardia with Pulse
Algorithm”เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน นำไปใช้ในหน่วยงาน ส่งผลให้มีการดูแลเบื้องต้นได้ถูกต้อง
ตามมาตรฐาน ผู้ป่วยได้รับ การวินิจฉัย และการรักษาที่รวดเร็วโดยพบว่า อัตราการคัดกรองผู้ป่วย ผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 90 และการได้รับการคัดกรอง EKG ภายใน 10 นาที เร็วขึ้นคิดเป็นร้อยละ 90 ทักษะของพยาบาล
ในการอ่าน EKG ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และส่งต่อผู้ป่วยได้ทันท่วงทีปลอดภัย ร้อยละ 100
สรุปและข้อเสนอแนะ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือการพัฒนาใช้ระยะเวลายาวนานถึง 4 ปี แสดงให้เห็นประโยชน์
ในการพัฒนาอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นผลลัพธ์ในการดูแลอย่างชัดเจน มีระบบการ consult ที่ชัดเจน
มีประสิทธิภาพ มีพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินทำงานร่วมกับแพทย์ปฏิบัติตามแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
และเกิดค่านิยมร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บทเรียนที่ได้รับ คือ การได้รับความร่วมมือจากแพทย์ สหวิชาชีพ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และการทบทวนแนวทางปฏิบัติร่วมกัน นำไปพัฒนา ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอัตรา
การตายของผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Complete heart block ในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ได้