Page 55 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 55

A31


                             การพัฒนารูปแบบและเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจแบบมีส่วนร่วม

                                                     3 Step STEMI Alert


                                                                          นางสาวดวงใจ มีชัย และนายอนุชา ศิริวงค์

                                                                โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เขตสุขภาพที่10
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                           สถิติอัตราการตายจากโรคหัวใจหลอดเลือดในจังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2562 - 2564 พบว่ายังมี
                  แนวโน้มที่สูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 16.46, 14.41 และ 23.53 ตามลำดับ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น
                  หรือได้รับการสืบค้นรอยโรค ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจะเป็นทางออกอกทางหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิด

                  ภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงกับชีวิตกับผู้ป่วย กลุ่มนี้

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                           เพื่อพัฒนารูปแบบและเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจ การรับรู้อาการโรคหัวใจ การค้นหา ดำเนินการเฝ้า
                  ระวังป้องกันการเกิดโรคระหัวใจในผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมิน Egat Rama Heart Scoreในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ
                  โดยบูรณาการร่วมกบการคัดกรองผู้สูงอายุประจำปี ใน รพ.สต.ของเขต อ.อทุมพรพิสัย

                  วิธีการศึกษา

                           ประชากรและกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ป่วยเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง 59 ราย อสม.และ
                  ญาติ 30 รายรวม 89 ราย ที่มารับบริการ ณ รพ.สต.อ้อมแก้ว รพ.สต.หนองหัวหมู อ. อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
                           เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมิน EgatRama Heart Scoreและแบบประเมินการรับรู้
                  อาการโรคหัวใจ 3 step STEMI ALART STOP TALK CALL ผ่านสโลแกน สวอย น็อค ช๊อค วูบ โดยผ่าน

                  การตรวจสอบคุณภาพจากอายุรแพทย์โรคหัวใจและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ดำเนินการในเดือนเมษายน
                  2564 - มีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน  ร้อยละ

                  ผลการศึกษา
                           ด้านกระบวนการ เกิดระบบรูปแบบคัดกรองผู้สูงอายุของโรงพยาบาลร่วมกับ รพ.สต. โดยบูรณาการ
                  ร่วมกับการคัดกรองสูงอายุประจำปี เพิ่มการเข้าถึงการตรวจพิเศษ EKG ได้รับการคัดกรองตรวจผู้สูงอายุทำ

                  EKG  100 % ในรายกลุ่มเสี่ยง (54 ราย) มีแนวทางการดำเนินงานและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
                           ด้านผลลัพธ์ พบว่ากลุ่มเสี่ยง มีความรู้เรื่องโรคหัวใจ ร้อยละ  80%  มีความรู้ในการปฏิบัติจัดการ
                  เมื่อมีอาการของโรคหัวใจ 90%


                           ด้านฝึกปฏิบัติ  CPR หลังฝึกอบรมสามารถฝึกปฏิบัติขั้นตอน CPR ได้ถูกต้อง 90%ผลการตรวจ EKG
                  ผลการตรวจ EKG ปกติ = 40 คน ผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบความผิดปกติ 17 ราย แบ่งเป็น RBBB 5 ราย LVH 3 ราย
                  พบ Q wave at II, III, aVF 2 ราย  AF 2 ราย Sinusbradycardia c 1St degree AV block 1 ราย

                  SinusBradycardia 1 ราย   PVC 2ราย   LBBBc WPW c Tall peak T ส่งเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล
                  ทันที 1 ราย นัดเข้าคลินิกโรคหัวใจเพื่อตรวจเพิ่มเติม Plan ติดตามอาการทางโทรศัพท์หลังอาการ 3 เดือน  6
                  เดือน และ 1 ปี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอาการอย่างต่อเนื่อง
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60