Page 57 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 57
A33
ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่อความทนทานในการเดินของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว
นางสาลินี บุญรอด และนางเยาวราภรณ์ ยืนยงค์
โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ เขตสุขภาพที่ 10
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ
ของร่างกายได้เพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ส่งผลให้เกิดการถดถอยความสามารถ
1
ในการเคลื่อนไหว และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ที่ผ่านมามีรายงานว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ด้วยการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นให้หัวใจมีการบีบตัวเร็วและแรงมากขึ้น ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว
2
เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปสู่อวัยวะต่าง ๆ มากขึ้น โดยการออกกำลังกายในระดับต่ำถึงปานกลางเป็นประจำ
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ช่วยให้หัวใจมีความทนทานในการทำงานมากขึ้น ผู้ป่วยจึงเหนื่อย
3
น้อยลงและสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ การออกกำลังกายถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โดยมีเป้าหมายในการฟื้นฟูเพื่อคงไว้หรือชะลอความก้าวหน้าของภาวะหัวใจ
ล้มเหลว ลดอัตราการเสียชีวิต และส่งเสริมการกลับมาทำงานหรือสามารถทำกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม 4
ผู้วิจัยคาดว่าการออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นประจำอาจช่วยพัฒนาความสามารถของผู้ป่วยโรคหัวใจ
ล้มเหลวได้
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลของความทนทานในการเดินหลังจากได้รับคำแนะนำโปรแกรมการออกกำลังกายของ
ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลอำนาจเจริญ
วิธีการศึกษา
รูปแบบการวิจัยและอาสาสมัคร
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental study) ในอาสาสมัครผู้ป่วยโรคหัวใจ
ล้มเหลว (heart failure) จำนวน 1 กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการวิจัย และวัดผลก่อนและหลังการครบโปรแกรม
(single group pre- and post-test design) ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลอำนาจเจริญ
จำนวน 33 ราย ที่สามารถเดินได้เองและไม่มีความผิดปกติอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการเดิน
เช่น อาการปวดของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยทุกรายได้รับการอธิบายที่มาและความสำคัญ ขั้นตอน
และวิธีการทดสอบรวมทั้งยินยอมเข้าร่วมการทดสอบทุกราย
ระเบียบวิธีการวิจัย
ผู้ป่วยได้รับการตรวจคัดกรองและสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต
และระดับออกซิเจนในเลือด ระดับความเหนื่อย จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการทดสอบ 6MWT และนำผลของ
ระยะทางที่ผู้ป่วยเดินได้มาคำนวนค่าคะแนนกิจกรรมทางกาย (MET) จากนั้นนักกายภาพบำบัดจะให้คำแนะนำ
โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยและให้คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว
เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ฝึกด้วยตัวเองที่บ้าน ตามรายละเอียดดังนี้
1. ผู้ป่วยที่มีค่าคะแนนกิจกรรมทางกาย 2-3 METs หากอาสาสมัคร เป็นผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกาย
มาก่อน จะได้รับคำแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่กับที่หรือเดิน โดย อาจให้เริ่มเดิน
ในระดับความเร็วและระยะเวลาเท่าที่ผู้ป่วยทำได้ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาการเดินจนสามารถเดินต่อเนื่อง
เป็นเวลา 30 นาที 5 ครั้ง/สัปดาห์ หรือ 150 นาที/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ความหนักของการออกกำลัง
กายให้อยู่ใน ระดับเบา-ปานกลาง 5