Page 58 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 58
A34
2. ผู้ป่วยที่มีค่ากิจกรรมทางกาย 3-4 METs ได้รับคำแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว
หรือวิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน ยกน้ำหนักขนาดเบา โดยความหนักของการออกกำลังกายให้อยู่ในระดับปานกลาง
และต้องมีการอุ่นเครื่องโดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อนาน 5-10 นาที ก่อนและหลังการออกกำลังกาย ความถี่
ในการออกกำลังกายคือ 5 ครั้ง/สัปดาห์ หรือ 150 นาที/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์5 เมื่อครบ 4 สัปดาห์
ผู้ป่วยจะได้รับการทดสอบ 6MWT ซ้ำ จากนั้นนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา
ตารางที่ 1 ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง 33 ราย
ตัวแปร ผลการศึกษา
อายุ (ปี) 57.45±13.10
น้ำหนัก (กิโลกรัม) 61.93±13.21
สูง (เซนติเมตร) 162.39±8.18
BMI 23.48±2.35
หมายเหตุ แสดงผลการศึกษาด้วยค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ 95
ช่วงความเชื่อมั่น (95% confidence interval หรือ 95% CI)
ตารางที่ 2 การเปลี่ยนแปลงความสามารถของผู้ป่วยก่อนและหลังการให้โปรแกรมออกกำลังกาย
ตัวแปร ผลการศึกษา
ก่อนการฝึก หลังการฝึก ค่าเฉลี่ยผลต่าง P-value
6MWT (เมตร) 332.87±94.96 386.22±99.26 53.35±26.06 0.000*
MET† 2.58±0.45 2.83±0.47 0.25±0.12 0.000*
หมายเหตุ *แสดงถึงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์โดยใช้ paired sample test
†MET มีหน่วยเป็น 3.5 มิลลิลิตรของออกซิเจน/กิโลกรัม/นาที
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยที่ได้รับคำแนะนำในการออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ยการทดสอบ 6MWT และค่า MET หลังการ
แนะนำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ( ตารางที่ 2)
อภิปรายผล
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผลของโปรแกรมการออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มความสามารถในการเดิน
และเพิ่มค่ากิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05, ตารางที่ 2)
ผลการศึกษาที่พบ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อการพัฒนาความสามารถทางกาย
ของผู้ป่วยได้ เนื่องจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ระดับความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด
(peak VO2) เพิ่มขึ้น6 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Smart และคณะที่ศึกษาผลของการออกกำลังกาย
ต่อการตอบสนองของหัวใจในผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลว ด้วยการวัดการใช้ออกซิเจนสูงสุดของร่างกาย
พบว่าค่า peak VO2 เพิ่มขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้ระยะทางเพิ่มขึ้นในการทดสอบ 6MWT หลังออก
กำลังกายอย่างต่อเนื่อง 7 จากผลการวิจัยนี้พบว่า ผู้ป่วยสามารถเดินในระยะที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่
53.35(±26.06) เมตร แสดงให้เห็นว่าความสามารถทางกายผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จากระยะทางที่เพิ่มขึ้นอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้สัมพันธ์กับการชะลอความก้าวหน้าของภาวะหัวใจล้มเหลว