Page 59 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 59
A35
และลดอัตราการเสียชีวิต จากการศึกษาของ Ciani O และคณะ ที่ศึกษาผลของการออกกำลังกายในผู้ป่วย
โรคหัวใจล้มเหลวพบว่า ผู้ป่วยที่มีระยะทางในการทดสอบ 6MWT เพิ่มขึ้น >30-50 เมตร จะช่วยชะลอ
การดำเนินของโรคและการเสียชีวิตได้8 นอกจากนี้การศึกษาของ Curtis JP และคณะ พบว่าระยะทางที่ได้
จากการทดสอบ 6MWT ที่เดินได้ ≤300 เมตร มีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีสัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราการนอนรักษา
ตัวในโรงพยาบาล และผู้ที่เดินได้ <200 เมตร จะเพิ่มอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยได้9 ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้
พบว่าหลังให้โปรแกรมการออกกำลังกายผู้ป่วยมีผลการทดสอบ 6MWT เฉลี่ยอยู่ที่ 386.22 เมตร แสดงว่า
ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว มีความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ช่วยให้หัวใจมีความทนทานในการ
ทำงานมากขึ้น และมีการพยากรณ์โรคไปในทางที่ดี
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุป การให้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว สามารถเพิ่มความ
ทนทานต่อการเดินในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้
ข้อเสนอแนะ การศึกษานี้ดูผลการออกกำลังกายในระยะสั้น ควรเพิ่มการศึกษาผลระยะยาวและ
ติดตามการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีระยะทางการเดินที่ลดลงได้
เอกสารอ้างอิง
1. Laviolette L, Laveneziana P. Dyspnoea: a multidimensional and multidisciplinary approach.
Eur Respir J. 2014; 43(6):1750-62. doi: 10.1183/09031936.0009 2613.
2. เสก อักษรานุเคราะห์. (2553).การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. อรรณณพ ใจสำราญ, สมพล สงวนรังศิริกุล,
อดิศร ภัทราดูลย์, สุกัญญา ชัยกิตติศิลป์ และ อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา. (บก.). สังคมสูงวัยเปี่ยมสุขด้วยวิถีสุขภาพ
และสิ่งแวดล้อม (หน้า 37-68). กรุงเทพมหานคร: คอนเซ็พท์ เมดิคัส.
3. Franklin, D. Medical practitioner attitudes to complementary medicine. Complementary
Medicine research 1992; 6: 69-71.
4. American Heart Association. Cardiac rehab for heart failure [Internet]. Dallas: American
Heart Association; 2017 [cited 2020 Dec 10]. Available from:
https://www.heart.org/en/health-topics/heart-failure/treatment-options-for-heart-
failure/cardiac-rehab-for-heart-failure.
5. Pollock ML, Pels AE, Foster C, Ward A. Exercise prescription for rehabilitation of the cardiac
patient. In: Pollock ML, Schmidt DH, editors. Heart disease and Rehabilitation. New York: John
Wiley & Sons; 1986:477 – 515.
6. Mitchell JH, Blomqvist CG. Response of Patients with Heart Disease to Dynamic and Static
Exercise. In: Pollock ML, Schmidt DH, editors. Heart Disease and Rehabilitation. 2nd ed. New
York: John Wiley;1986:85 – 95 .
7. Smart, N., Haluska, B., Jeffriess, L., Case, C., &Marwick, H. T. (2006). Cardiac Contribution to
exercise training responses in patients with chronic heart failure: a strain imaging study.
Echocardiography: A Jrnl. of CV Ultrasound & Allied Tech, 23(5), 376-382.
8. Ciani O, Piepoli M, Smart Net al. Validation of exercise capacity as a surrogate endpoint in
exercise-based rehabilitation for heart failure: a meta-analysis of randomized controlled
trials. JACC Heart Fail 2018; 6: 596–604.
9. Curtis JP, Rathore SS, Wang Yet al. The association of 6-minute walk performance and
outcomes in stable outpatients with heart failure. J Card Fail 2004; 10: 9–14.