Page 60 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 60

A36


                         ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลทุ่งสง


                                                                                         นางสาวปริศนา มณีฉาย
                                                            โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตสุขภาพที่ 11

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหา

                           โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติกับหลอดเลือดหัวใจ องค์การอนามัยโลก
                  ได้รายงานว่าเมื่อ พ.ศ. 2559 มีประชากรทั่วโลกป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 17.7 ล้านคน
                  และร้อยละ 31 เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว ซึ่งพบว่าร้อยละ  80  ของผู้ที่เสียชีวิตเกิดจากภาวะหัวใจขาดเลือด
                  เฉียบพลันและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (WHO, 2558) สำหรับประเทศไทย พบว่า พ.ศ.2565 มีอัตราการเสียชีวิต
                  ร้อยละ 15 ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นและมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น จากสถิติโรงพยาบาลทุ่งสง ให้การดูแลผู้ป่วย

                  โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉลี่ยปีละ 500-600 ราย มีค่ารักษาสูงเฉลี่ยปีละ 12-13 ล้านบาท และมีผู้ป่วยรายใหม่
                  เฉลี่ยปีละ 100-200 ราย อัตราการกลับมารักษาซ้ำเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลดังกล่าวมีการทบทวนพบว่า จำนวน
                  ผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดูแลตนเองได้ไม่เหมาะสมและมีกระบวนการวางแผน

                  จำหน่ายไม่ครอบคลุมและลักษณะของการวางแผนจำหน่าย ยุ่งยาก ไม่ทันสมัย รวมทั้งขาดการประเมินผล
                  หลังมีการวางแผนจำหน่าย ดังนั้น การวางแผนจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                  ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล มีช่องทางการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่หลากหลาย
                  เช่น แอฟพลิเคชั่นต่าง, You Tube รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยและผู้ดูแล

                  ดังนั้น ผู้วิจัย ได้พัฒนาแนวทางการวางแผนจำหน่ายโดยใช้เทคโนโลยีมีการให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าน Electronic
                  file จากทีมสหสาขาวิชาชีพ และมีการประเมินความรู้ของผู้ป่วยผ่านเกมออนไลน์

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                           1. เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
                           2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของผู้ป่วยระหว่างก่อนและหลังวางแผนจำหน่าย โดยใช้เกมออนไลน์

                  วิธีการดำเนินการ

                           1. ศึกษาสถานการณ์การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยการสัมภาษณ์
                  แบบไม่มีโครงสร้างพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลทุ่งสง
                           2. ทบทวนวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยยึดหลัก
                  D-METHOD ได้แก่ ความรู้เรื่องโรค อาการ การปฏิบัติตัว การใช้ยา การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การรักษา

                  การส่งเสริมสุขภาพ การมาตามนัดและการรับประทานอาหารเฉพาะโรค
                           3. ผลิตคู่มือ การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็น Electronic file และผลิตเกมออนไลน์
                  “เปิดกล่องเปิดใจ” โดยใช้แอฟพลิเคชั่น Wordwall ลักษณะเกมเป็นแบบเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด เนื้อหาในเกม

                  ประกอบด้วย ความรู้เรื่องโรค อาการ การรับประทานยา การมาตามนัด การจัดการเมื่อมีอาการกำเริบ
                  การส่งเสริมสุขภาพ การรับประทานอาหารเฉพาะโรค
                           4. นำคู่มือ การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (E-book) และ เกมออนไลน์ “เปิดกล่องเปิดใจ”
                  ไปทดลองใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มีเกณฑ์การคัดเข้าคือ เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 20-65 ปี
                  มีความสามารถในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่รองรับเกม เขียนและอ่าน หนังสือ

                  ภาษาไทยได้ ไม่มีปัญหาด้านการสื่อสารและยินยอมเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65