Page 61 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 61
A37
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ : ประเมินความรู้ของผู้ป่วยก่อนและหลังการวางแผนจำหน่าย
2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการเปรียบเทียบ Wilcoxon matched pairs-
signed rank test และอัตราการกลับมารักษาซ้ำ
ผลการศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เป็นเพศชายร้อยละ 57.43 และเพศหญิง ร้อยละ 42.57 มีอายุเฉลี่ย
58.72 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 28.29 ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด ร้อยละ 30.20
และมีรายได้ครอบครัวต่อเดือนมากกว่า 10,000 มากที่สุด และมีความรู้มากขึ้นหลังเล่นเกมออนไลน์
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 1 เดือน
อภิปรายผล
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและ
หลอดเลือด (E-book) และ เกมออนไลน์ “เปิดกล่องเปิดใจ เป็นการวางแผนจำหน่ายที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน
เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำของผู้ป่วย และลักษณะเกมเป็นเกมที่ง่าย การเข้าถึงสะดวก
โดยการให้ผู้ป่วยสแกน QR code ก็สามารถเล่นเกมส์ได้ ผู้ป่วยสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดความ
เบื่อหน่าย ซึ่งการให้ความรู้แบบเดิม เช่น แผ่นพับหรือการสอนสุขศึกษาอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีความสนใจลดลง
แต่รูปแบบของการเล่นเกมจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ สนุกและผู้ป่วยสามารถเล่นซ้ำได้ไม่จำกัดจำนวน
ทางด้านเนื้อหาในเกมไม่ยากจนเกินไป สามารถนำไปปฏิบัติได้เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคหัวใจและการดูแลตนเอง
การเข้าถึง 1669 ซึ่งลักษณะของสื่อที่เป็นเกมจะทำให้ผู้ป่วยสามารถจำเนื้อหาได้ง่ายและการใช้เกมเปิดกล่อง
เปิดใจเป็นสื่อที่เพิ่มความพึงพอใจให้ผู้ป่วยอีกด้วย
สรุปและข้อเสนอแนะ
ควรจัดทำเป็นโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย โดยมีการประเมินเปรียบเทียบเป็นลักษณะ 2 กลุ่ม
คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการใช้แฟลตฟอร์มอื่น ๆ ในการวางแผนจำหน่าย เช่น TikTok, YouTube
หรือ AI ต่าง ๆ เพื่อให้สื่อเกิดความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีการติดตามพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมของผู้ป่วย